อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
TH
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1. ด้านกายภาพ

   1.1 ที่ตั้งของเทศบาลตำบลพญาขัน                       

         สำนักงานเทศบาลตำบลพญาขัน ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ซึ่งตำบลพญาขันเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ห่างจากที่ทำการอำเภอเมืองพัทลุง ประมาณ 7 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 7.65 ลองติจูดที่ 100.11 และค่าพิกัดที่ N 843000 E 848000 และ N 619000 E 624000 มีเนื้อที่จำนวน 18.67 ตารางกิโลเมตร จัดตั้งเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552

   1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

         เทศบาลตำบลพญาขันมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีลำคลอง เหมืองน้ำไหลผ่านหลายสาย ลักษณะเป็นภูเขาและที่ราบ

   1.3 สภาพภูมิอากาศ

        เทศบาลตำบลพญาขันได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน

   1.4 ลักษณะของดิน

        ลักษณะภูมิประเทศโดยภาพรวมเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก เป็นพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ บางแห่งอาจปรับปรุงทำไร่สวนผสม ส่วนในพื้นที่ลาดชันส่วนใหญ่ใช้ปลูกยางพารา

   1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

        เทศบาลตำบลพญาขันมีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ คลองโรงตรวน ไหลผ่านพื้นที่หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8  คลองพลายทอง ไหลผ่านพื้นที่หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 10 คลองสาน (คลองน้ำเชี่ยว) ไหลผ่านพื้นที่หมู่ที่ 1 คลองบ้านแร่ – กลางนา ไหลผ่านพื้นที่หมู่ที่ 1 คลองเหมืองหลา ไหลผ่านพื้นที่หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 7 คลองเรือ ไหลผ่านพื้นที่หมู่ที่ 10 หานควนถบ ไหลผ่านพื้นที่หมู่ที่ 4 เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร และอุปโภค

2. ด้านการเมืองและการปกครอง

   2.1 เขตการปกครอง

       เทศบาลตำบลพญาขันมีจำนวนหมู่บ้านในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบจำนวน 10 หมู่บ้าน แยกตามเขตการเลือกตั้ง      

   2.2 การเลือกตั้ง

        เทศบาลตำบลพญาขัน แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 เขต เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย หมู่ที่ 4 ,5 ,9 ,10 เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วย หมู่ที่ 1,2,3,6,7,8 มีสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คน มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลตำบลพญาขัน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 4,826 คน

             โครงสร้างการบริหารงาน

            ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปี พ.ศ. 2562 ได้แบ่งโครงสร้างเทศบาลออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติ คือสภาเทศบาลและฝ่ายบริหารคือนายกเทศมนตรี

            1. ฝ่ายนิติบัญญัติ สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง 2 เขต มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี เทศบาลตำบลพญาขันมีจำนวนสมาชิก 12 คน

              2. ฝ่ายบริหาร  นายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง โดยเทศบาลตำบลพญาขัน ทำการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี หลังจากนั้นนายกเทศมนตรีทำการแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี 2 คน และเลขานุการนายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน เพื่อให้เป็นผู้ช่วยในการบริหารงานของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย

3. ประชากร

   3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

        ประชากร มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 6,151 คน แยกเป็นชาย 2,948 คน หญิง 3,203 คน

        จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,286 ครัวเรือน

        ความหนาแน่นของบ้านต่อพื้นที่ 73 หลังคาเรือน / ตารางกิโลเมตร

        สมาชิกในครอบครัวโดยเฉลี่ย 5 คน / ครัวเรือน

4. สภาพทางสังคม

    4.1 การศึกษา เทศบาลตำบลพญาขันมีการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน

   4.2 สาธารณสุข สถานบริการสาธารณสุขภาครัฐในเขตเทศบาลตำบลพญาขัน ประเภทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนถบและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาแดง

   4.3 การสังคมสงเคราะห์ เทศบาลตำบลพญาขันได้ช่วยเหลือด้านการสงเคราะห์แก่ประชาชน

 5. ระบบบริการพื้นฐาน

   5.1 คมนาคมขนส่ง การคมนาคมขนส่งของพื้นที่เทศบาลตำบลพญาขันสามารถติดต่อเชื่อมโยงกับหมู่บ้านภายในเขตเทศบาลตำบลพญาขันและตำบล ต่างๆ โดยทางรถยนต์ มีเส้นทางสำคัญคือ

         - ทางหลวงแผ่นดิน สายอภัยบริรักษ์ เป็นถนนสายประธานเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างเขตเทศบาลเมืองพัทลุง (เมืองจังหวัดพัทลุง) มายังพื้นที่ตำบลพญาขัน ระยะทาง 1 กิโลเมตร (จากทางรถไฟ-ปากทางเข้าถนนสายบ้านเขาแดง) แล้ว

        - ถนนสายบ้านเขาแดง เป็นถนนสายหลักเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างเขตเทศบาลเมืองพัทลุง มายังพื้นที่ตำบลพญาขัน ระยะทาง 1.990 กิโลเมตร

        - ถนนทางหลวงชนบท สายบ้านแร่-ทะเลน้อย เป็นถนนสายหลักโยงการคมนาคมระหว่างตำบล   พญาขัน ตำบลลำปำ ตำบลชัยบุรี และเขตอำเภอควนขนุน

        - ถนนสายเขาแดง - ท่าโพธิ์ เป็นถนนสายหลักเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างเขตเทศบาลเมืองพัทลุง และตำบลควนมะพร้าว มายังพื้นที่ตำบลพญาขัน ระยะทาง 2.740 กิโลเมตร

        - ถนนสายเขาแดง - หัวไทร เป็นถนนสายหลักเชื่อมโยงการคมนาคมเทศบาลเมืองพัทลุง และตำบลลำปำ มายังพื้นที่ตำบลพญาขัน ระยะทาง 6.100 กิโลเมตร

        - ถนนสายเขาแดง - ไสยอม เป็นถนนสายหลักเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างเขตระหว่างหมู่บ้านหมู่ที่ 4, 5, 9, 10 ระยะทาง 5.563 กิโลเมตร

   5.2 การไฟฟ้า 

          เทศบาลตำบลพญาขันมีการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน  100 %

   5.3 การสื่อสาร โทรศัพท์ 074 - 670755   โทรสาร 074 – 670756

6. ระบบเศรษฐกิจ

   6.1 เกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจของเทศบาลตำบลพญาขันขึ้นอยู่กับการผลิตภาคเกษตรกรรมนับได้ว่าสาขาการผลิตหลักของตำบลพญาขัน ซึ่งการเกษตรกรรมประกอบไปด้วยการกสิกรรม การประมง และการปศุสัตว์ พื้นที่ประมาณร้อยละ 78.52 ของเทศบาลตำบลพญาขันเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นพื้นที่โดยรอบตำบลพญาขัน พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าวเล็บนก  ข้าวหอมมะลิ ข้าวชัยนาท ปลูกผัก ไร่นาส่วนผสม และนาบัว

   6.2 การประมง เช่น การเลี้ยงปลาดุก ปลานิล ปลาทับทิม เป็นการเลี้ยงปลาในบ่อดิน บ่อคอนกรีต และแหล่งน้ำธรรมชาติ

   6.3 การปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงโค ไก่ เป็ด และสุกร เป็นต้น

   6.4 การท่องเที่ยว 

        วัด วัดเขาแดงตะวันออก หมู่ที่ 5 ตำบลพญาขัน เป็นวัดที่ชาวบ้านและคนทั่วไปให้ความเคารพนับถือ มีรูปปั้นของอดีตเจ้าอาวาส (รูปเหมือนพระครูถาวรชัยคุณ หรือ รูปเหมือนอาจารย์หมุน ยสโร) ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ทั้งยังเป็นแหล่งปลูกสมุนไพรและผลิตยาสมุนไพร

        ภูเขา เขาหลักไก่ หมู่ที่ 5 ตำบลพญาขัน เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาจะมองเห็นทิวทัศน์ของตำบล พญาขันและตำบลใกล้เคียง  

        แหล่งน้ำ หารควนถบ หมู่ที่ 4 ตำบลพญาขัน เป็นแหล่งน้ำที่มีการอนุรักษ์พันธุ์ปลาชนิดต่างๆ และสามารถลงเล่นน้ำได้

        สถานที่เคารพนับถือ รูปปั้นพ่อแก่ควนสาร ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลพญาขัน และรูปปั้นของอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาแดงตะวันออก รูปเหมือนพระครูถาวรชัยคุณ หรือ รูปเหมือนอาจารย์หมุน ยสโร ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลพญาขัน เป็นโบราณสถานที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ

   6.5 อุตสาหกรรม  การดำเนินกิจการอุตสาหกรรมในพื้นที่เทศบาลตำบลพญาขันส่วนใหญ่ จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณเส้นทางคมนาคมที่ผ่านในหมู่บ้าน โดยมีสถานประกอบการ ทั้งสิ้น 15 แห่ง มีแรงงานรวม 27 คน การประกอบการส่วนใหญ่ ได้แก่ การทำเตาฮั่งโล่  อู่ซ่อมเครื่องยนต์-รถยนต์ โรงสีข้าว ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ซึ่งแต่ละกิจการจะมีแรงงาน ประมาณ 4-10 คน ส่วนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่ไม่มี

   6.6 พาณิชยกรรม สถานประกอบกิจการจะมีลักษณะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดย่อม ซึ่งกระจุกตัวอยู่บริเวณเส้นทางคมนาคมที่ผ่านในหมู่บ้าน มีผู้จดทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 226 ราย ส่วนใหญ่จะเป็น ร้านขายของชำ ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม ขาย-ซ่อมรถยนต์ จักรยานยนต์ เป็นต้น

   6.7 เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

         พื้นที่เทศบาลตำบลพญาขันมีจำนวน 10 หมู่บ้าน ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มลาดเอียงไปทางทิศตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นา เหมาะสมกับการด้านเกษตรกรรม การเลี้ยงปลา การเลี้ยงสัตว์ และซึ่งถือเป็นอาชีพหลักที่เสริมสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น 

7. ด้าน ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

   7.1 ศาสนา ประชากรของเทศบาลตำบลพญาขัน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

   7.2 วัฒนธรรม

         มโนราห์หรือโนรา ปัจจุบันมีผู้สืบทอดมโนราห์ในตำบลพญาขัน คือ มโนราห์ศรีธน

        หนังตะลุง ปัจจุบันตำบลพญาขันมีนายหนังตะลุง คือ หนังจูลี้ ไอ้ลูกหมี หนังจ่าหมี หนังบูรณ์ หนังพรหม

        การทำขวัญข้าว การทำขวัญข้าวเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวนาในสมัยก่อนยึดถือปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในตำบลพญาขันซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง

   7.3 ประเพณีท้องถิ่น งานประเพณีแข่งโพนลากพระ (ชักพระ)

   7.4 ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำเครื่องมือสัตว์น้ำ เช่น ไซ โป่งปาง เป็นเครื่องมือจับน้ำ ภาษาถิ่น ภาษาใต้

   7.5 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เช่น ขนมปั้นสิบ เตาฮั่งโล่ ข้าวซ้อมมือ ยาสมุนไพร เป็นต้น

8. ทรัพยากรธรรมชาติ

   8.1 แหล่งน้ำ พื้นที่ส่วนใหญ่ จะมีลำคลอง เหมืองน้ำไหลผ่าน แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ

   8.2 ภูเขา เขาแดง  ตั้งที่ หมู่ที่ 5 ตำบลพญาขัน และเขาหลักไก่ หมู่ที่ 5 ตำบลพญาขัน

   8.3 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

        คุณภาพน้ำ คุณภาพน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินของตำบลพญาขัน ปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลางประชาชนสามารถใช้น้ำมาอุปโภค และทำการเกษตรได้ เทศบาลตำบลพญาขันได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ชุมชนในพื้นที่มีความตระหนักและรับผิดชอบต่อส่วนรวมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำอย่างยั่งยืน